การเกษตรแบบผสมผสาน

Archive for the ‘กล้วยหอมทอง’ Category

ชาวสวีร่วมถวายพระพร

พี่น้องชาวอำเภอสวี ร่วมจัดงานวันพ่อ 5 ธันวาคม 2554

เช้าร่วมตักบาตร พระ200 รูป

กลางวัน จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

มีตรวจสุขภาพ ตัดผม เสริมสวย มีขนมไทยๆ บริการฟรี

เย็นเดินพาเหรด การแสดงบนเวที เต้นลีลาศ แอโรบิค

กลางคืน มีวงดนตรี หนังตะลุง ชมฟรี

ธ.ทรงเป็นกำลังใจ ให้ตลอดมา

แสตมป์ ดวงน้อยนี้ ใส่กรอบเล็กสีขาว

ติดตัวลูกมา นานร่วม30ปี

จะอยู่ไหน พาพก ติดตามทุกแห่งหน

บ้างตั้งไว้บนโต๊ะ บ้างตั้งไว้บนหัวเตียง

อยู่กรุงเทพ ไว้เป็นกำลังใจ สมัยเรียน

นำกลับมาชุมพรด้วยกัน สู่บ้านเกิด

รูปกรอบเล็ก ให้กำลังที่ยิ่งใหญ่

เหนื่อย ท้อเมื่อใด มองรูปนี้ ก็จะหาย

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

กล้วยหอมทองชุมพร..ปลอดสารเคมี

การปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารเคมี…

อาชีพที่ดี ปลอดภัยห่างไกลจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรเองและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

กล้วยหอมทองปลอดสารเคมี..จากกลุ่มเกษตรกรจ.ชุมพร สมาชิกสหกรณ์กล้วยหอมทองปลอดสารเคมี ผู้ปลูก สหกรณ์เป็นผู้รับซื้อ รวบรวม คัดแยก บรรจุ

บ.แพนแปซิฟิคฟู้ดคอร์ปอเรชั่น จก.(ประเทศไทย)เป็นผู้รับซื้อจากสหกรณ์และส่งออก บ.แพนแปซิฟิค ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้จำหน่าย ให้แก่สหกรณ์ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น

ช่องทางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น สหกรณ์ผู้บริโภคในญี่ปุ่น ซึ่งจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภคเกือบทุกประเภท จะทำการขายตรง ตามออร์เดอร์ที่ผู้บริโภคสั่งซื้อทางอินเตอร์เนท หรือใบสั่งซื้อ และจัดส่งด้วยรถส่งสินค้าส่งถึงบ้านทุกวัน

กล้วยหอมทองปลอดสารเคมี ที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น จะมาจากกลุ่มเกษตรกร 3 องค์กร

1.สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จ.เพชรบุรี 2.กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด 3.สหกรณ์กล้วยหอมทองปลอดสารเคมี จ.ชุมพร

กล้วยหอมทองที่ขายอยู่ในประเทศญี่ปุ่น มาจากหลายประเทศ เช่นฟิลิปปินน เอกวาดอร์ ใต้หวัน

แต่กล้วยที่ปลอดสารเคมี ผู้เขียนเห็นมีแต่ที่มาจากประเทศไทย ส่วนอื่นๆจะเป็นกล้วยสารตกค้างน้อย

ราคาขาย กล้วยจากประเทศไทย ราคาจะสูงกว่าประเทศอื่น ถึง1เท่า

กล้วยไทย รสหวานหอม นุ่ม ผู้เขียนลองชิมกล้วยเอกาว์ดอร์ ฟิลิปปินน หวานน้อย เนื้อเหนียว เนื้อหยาบไม่หอม สู้ของไทยไม่ได้เลย

แต่จำนวน กล้วยไทยที่ส่งไปขาย ในตลาดญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1% จะด้วยสาเหตุการตั้งราคาขายที่สูงเกินไป หรือเปล่า ทั้งที่ ผู้ส่งออกรับซื้อจากเกษตรกรเพียง ก.ก.ละ 12 บาท แต่ราคาขาย ในญี่ปุ่น อยู่ที่ 3 ลูก ราคา 350-500 เยน

สวีจ.ชุมพรบ้านเกิดผู้เขียน

เกษตรแบบผสมผสาน

เรารักในหลวง

การทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ

ปลูกพืชหลายชนิดในแปลง ดีที่มีรายได้ตลอดปี ปลูกพืชที่กินได้ ปลูกพืชที่ขายได้หลายๆชนิด ปลูกไม้ไว้ใช้ ทำปุ๋ยหมัก น้ำ้ชีวภาพ ไว้ใช้เองลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ดูแลสวนให้สะอาด แมลงศัตรูไม่มีที่อาศัย ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ตัดหญ้า กวาดใบไม้นำไปหมักเป็นปุ๋ยหมัก

ผสมปุ๋ยจากแม่ปุ๋ยใช้เอง ลดต้นทุน ได้ปุ๋ยเต็มสูตร ปุ๋ยแท้ ใช้ปุ๋ยให้ตรงเวลา ตรงสูตร ตรงความต้องการของพืชแต่ละช่วงเวลา

ที่สวนผู้เขียน..แต่เดิมปลูกทุเรียนอย่างเดียว ปีใดราคาถูกก็เป็นหนี้เป็นสิน

เปลี่ยนใหม่ ตามแนวพระราชดำริ เป็นเกษตรผสมผสาน ปลอดสารเคมี

ทุเรียน..ให้รายได้ปีละ 1 ครั้ง, ปาล์มน้ำมัน ให้รายได้ 15 วันต่อครั้ง, กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ ตัดขาย 3 วันต่อครั้ง,สับปะรด แบ่งปลูกหลายรุ่น ให้รายได้ปีละ3-4 รอบ,ปลูกไม้ตะเคียนทองไม้ใช้ในอนาคต,ปลูกผักพื้นเมือง-เงาะ-มะละกอ-เลี้ยงปลาไว้เป็นอาหาร

ทำงานในสวนเองในงานที่พอทำได้ ประหยัดและได้ออกกำลังกาย จ้างแรงงานในงานบางอย่าง

ผลไม้มี2ชนิด

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ นายพันธ์ศักดิ์ วิมลรัตน์

อดีต..ผู้ร่วมก่อตั้งชมรมชาวสวนทุเรียนชุมพร,สมาคมชาวสวนทุเรียนจ.ชุมพร,

ตำแหน่งในองค์กร..อดีตเลขาสมาคมชาวสวนทุเรียนจ.ชุมพร,อดีตประธานสหกรณ์กล้วยหอมทองปลอดสารเคมีจังหวัดชุมพร

เคยศึกษา..ร.ร.บ้านนาโพธิ์,ร.ร.บุณยสมบัติวิทยา,ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย,ม.รามคำแหง

เคยประกอบอาชีพ..ทำสวนทุเรียนหมอนททอง,เจ้าของกิจการ โรงงานเฟอร์นิเจอร์,ผู้รับเหมาก่อสร้าง,ฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำ,

อาชีพปัจจุบัน..เกษตรกร สวนทุเรียน, ปาล์มน้ำมัน, กล้วยหอมทอง, กล้วยไข่, สับปะรด,

เจ้าของกิจการร้านวิมลรัตน์ อ.สวี จ.ชุมพร จำหน่ายยารักษาโรค(บรรจุเสร็จ),เอเยนต์หนังสือพิมพ์-วารสาร

ประวัติผู้เขียน

ปุ๋ย ผสมใช้เอง

รายไ้ด้เฉลี่ยต่อไร่ต่อปี

รายได้เฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 01

รายได้เฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 03