การเกษตรแบบผสมผสาน

Archive for the ‘ทุเรียน’ Category

ชาวสวีร่วมถวายพระพร

พี่น้องชาวอำเภอสวี ร่วมจัดงานวันพ่อ 5 ธันวาคม 2554

เช้าร่วมตักบาตร พระ200 รูป

กลางวัน จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

มีตรวจสุขภาพ ตัดผม เสริมสวย มีขนมไทยๆ บริการฟรี

เย็นเดินพาเหรด การแสดงบนเวที เต้นลีลาศ แอโรบิค

กลางคืน มีวงดนตรี หนังตะลุง ชมฟรี

ธ.ทรงเป็นกำลังใจ ให้ตลอดมา

แสตมป์ ดวงน้อยนี้ ใส่กรอบเล็กสีขาว

ติดตัวลูกมา นานร่วม30ปี

จะอยู่ไหน พาพก ติดตามทุกแห่งหน

บ้างตั้งไว้บนโต๊ะ บ้างตั้งไว้บนหัวเตียง

อยู่กรุงเทพ ไว้เป็นกำลังใจ สมัยเรียน

นำกลับมาชุมพรด้วยกัน สู่บ้านเกิด

รูปกรอบเล็ก ให้กำลังที่ยิ่งใหญ่

เหนื่อย ท้อเมื่อใด มองรูปนี้ ก็จะหาย

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

อำเภอสวี

อำเภอสวี

  คำขวัญจังหวัด ประตูสู่ภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรมฯ ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

คำขวัญอำเภอ พระธาตุเก่าแก่ กาแฟเลิศล้ำ ระกำหวานดี สตรีสวยสด                              สับปะรดหวานกรอบ เที่ยวรอบหมู่เกาะสวี

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ  ตั้งอยู่เลขที่ 13/1 หมู่ที่ 4 ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 86130 

หมายเลขโทรศัพท์0-0775-3100 ,0-7753-1779

 

1.ประวัติความเป็นมา อำเภอสวีเป็นเมืองเก่าแก่ตามประวัติศาสตร์  ตั้งอยู่ภาคใต้ทางฝั่ง ตะวันออกของประเทศไทย  เมืองสวี  ตั่งอยู่ริมคลองสวี ต่อมาเมื่อวัน ที่ 16 เมษายน  2440  (ร.ศ. 116 )ได้ตั้งที่ทำการอำเภอสวีครั้งแรกในหมู่ ที่  5

ตำบลนาโพธิ์โดยใช้บ้านพักของนายรื่น  ทองคำ  เป็นที่ว่าการชั่ว คราว  ตั้งอยู่ครึ่งปีก็ย้ายไปตั้งทึ่บ้านของนายชุ่ม

กำนันตำบลปาก แพรก  ปฏิบัติงานได้ปีเศษ จึงย้ายที่ว่าการไปอยู่ริมแม่น้ำสวี  ตำบล สวี

พ.ศ. 2462 ที่ว่าการอำเภอสวี ชำรุดไม่สามารถ ใช้ปฎิบัติราชการได้  จึง ย้ายไปใช้บ้านพักของนายฮก บุญยสมบัติ  คหบดี  เป็นที่ว่าการอำเภอชั่ว คราว

1  เมษายน  2462  ได้จัดสร้างที่ว่าการอำเภอสวีขึ้นใหม่ที่หมู่ ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ ซึ่งเป็นชุมชนที่เป็นศูนย์รวมการค้าต่าง ๆ ที่ใหญ่ที่สุด ของอำเภอสวี

24  มกราคม  2511 ที่ว่าการอำเภอสวีได้ถูกเพลิงไหม้  กรมการ ปกครอง จึงอนุมิติงบประมาณพิเศษให้ก่อสร้าง

ที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ และมีพิธี เปิดเมื่อวันที่ 30  มกราคม  2512  ใช้ปฎิบัติราชการอยู่ ถึง พ.ศ. 2544  เป็นระยะเวลา 32 ปี

อาคารที่ว่าการอำเภอสวีชำรุดทรุดโทรมตาม สภาพการใช้งาน  กรมการปกครอง ได้อนุมิติงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ หลังใหม่  เมื่อปี  พ.ศ. 2543
1  ตุลาคม  2544 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอสวี มาปฎิบัติงานที่ว่าการอำเภอ สวี (หลังใหม่) ตั้งอยู่ที่บ้านดอนรักษ์

หมู่ที่ 4 ตำบลสวี  จนถึง ปัจจุบัน  และในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ราชการอำเภอสวี  อย่างเต็มรูป แบบ  เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ 

 

2.เนื้อที่ รวม  799.578 ตร.กม.

 

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

เป็นเหตุ ให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู

ข้อมูลการปกครอง1.ตำบล…….11…. แห่ง2.หมู่บ้าน….115…. แห่ง3.เทศบาล..1…..แห่ง4.อบต……..10 … แห่ง

 

1.อาชีพหลัก ได้แก่เกษตรกรรม  ผลิตผลการเกษตรที่สำคัญ และนำรายได้สู่ประชาชนชาวอำเภอ สวี  ได้แก่  ยางพารา  ปาล์ม  กาแฟ  และสวน ผลไม้ ต่าง ๆ เช่น สับปะรด ทุเรียน  ลองกอง
-ประมง  การประมงในอำเภอสวี  ส่วนใหญ่จะเป็นการประมงชายฝั่งเรือประมงขนาดเล็กและมีการเพาะเลี้ยงกุ้ง

เลี้ยงปลากะพงชายฝั่ง 

 

2.อาชีพเสริม ได้แก่รับจ้างทั่วไป  รวมทั้งการรับจ้างด้านแรงงานภาคเกษตรกรรม

 

3.จำนวนธนาคาร มี 4 แห่ง ได้แก่
1.ธนาคารออมสิน  สาขาสวี  0-7753-1255
2.ธนาคารกรุงไทย  จำกัด มหาชน สาขาสวี  0-7753-1500
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสวี  0-7753-1008
4.ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด มหาชน  สาขาสวี  0-77531070

ด้านสังคม

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่

รร.สวีวิทยา 0-7753-1217
รร.ด่านสวีวิทยา 0-7753-1254
รร.นาสักวิทยา 0-7752-1254
รร.เขาทะลุพิทยาคม  0-7752-0076
รร.ครนพิทยาคม 0-7750-1490 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ

 

1.เทือกเขาตะนาวศรึ  แนวยาวจากเหนือจดใต้  แหล่งธรรมชาติป่าไม้เขตร้อน  ซึ่งมีทรัพยากรด้าน ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
2. มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย  แนวเหนือจดใต้ ด้านทิศตะวันออกของ พื้นที่ยาวประมาณ  20 กม. มีชายหาดที่เงียบสงบ สวยงาม  ยังคงความเป็น ธรรมชาติ  และมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์  เป็นแหล่งอาศัยและแพร่ขยายพันธุ์สัตว์ น้ำ
3.แหล่งต้นน้ำลำธารตามธรรมชาติ จำนวน  3  สาย  ไหลลาดจากแนวทิศตะวันตกสู่ ทิศตะวันออก อ่าวไทย  แม่น้ำที่สำคัญคือ  แม่น้ำสวีเฒ่า  แม่น้ำสวีหนุ่ม
4.แหล่งชุมชนการประมงชายฝั่ง
5.ป่าไม้เขตร้อน  พื้นที่อุดมเชิงนิเวศน์เขตร้อน  พื้นที่ตลอดแนวเทือกเขา ตะนาวศรี  ด้านทิศตะวันออกประกอบด้วยพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนที่อุดม สมบูรณ์  มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะค่า  ไม้แดง
6. แหล่งน้ำดิบ  เป็นพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมทั้งสองฝั่ง  มีแหล่งน้ำดิบ ตามธรรมชาติมาก ๆ ประกอบด้วย  แม่น้ำ  ลำธาร  เนื่องจากฝนชุกเกือบตลอด ปี  มีช่วงห่างเพียง  3  เดือน  คือ มี.ค- พ.ค.
7.แหล่งพันธุ์ไม้นานา  อำเภอสวีมีป่าไม้ที่ยังอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีพันธุ์ไม้ ต่าง ๆ มากมาย เช่น ไม้รัง ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่ เป็นต้น

 

ด้านประชากร

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้นรวม 66154  คน

2.จำนวนประชากรชายรวม 33179  คน

3.จำนวนประชากรหญิงรวม 32975 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร 83 คน/ตร.กม

.ด้านการคมนาคม

1.ทางบก- รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  41
– สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  ชุมพรเดินรถ โทร.0-7753-1333
– สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  สถานีรถไฟสวี โทร. 0-7753-1253

 

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่

กาแฟโรบัสต้า
มะพร้าว
ยางพารา
ทุเรียน
ปาล์มน้ำมัน
ลองกอง
กล้วยเล็บมือ
สับปะรด
ระกำ สะละ

 

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

แม่น้ำสวีเฒ่า
แม่น้ำสวีหนุ่ม
คลองวิสัย

3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่

โรงงานสวีอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม  ที่ตั้งหมู่ 4ตำบลนาโพธิ์  อำเภอสวี จังฟวัดชุมพร  86130
โรงงานสหมิตรน้ำมันปาล์ม  ที่ตั้งหมู่ที่ 12   ตำบลครน  อำเภอสวี  จังหวัดชุมพร 86130
โรงงานซอสมะละกอ   ที่ตั้งหมู่ที่  3  ตำบลครน  อำเภอสวี  จังหวัดชุมพร 86130
โรงงานใยมะพร้าว ที่หมู่ 7 ตำบลนาโพธิ์  อำเภอสวี  จังหวัดชุมพร 86130
โรงงานผลิตภัณฑ์กาแฟ หมู่ที่ 5  ตำบลเขาทะลุ  อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ตักบาตรวันพ่อ ปี54

สวีจ.ชุมพรบ้านเกิดผู้เขียน

เกษตรแบบผสมผสาน

เรารักในหลวง

การทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ

ปลูกพืชหลายชนิดในแปลง ดีที่มีรายได้ตลอดปี ปลูกพืชที่กินได้ ปลูกพืชที่ขายได้หลายๆชนิด ปลูกไม้ไว้ใช้ ทำปุ๋ยหมัก น้ำ้ชีวภาพ ไว้ใช้เองลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ดูแลสวนให้สะอาด แมลงศัตรูไม่มีที่อาศัย ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ตัดหญ้า กวาดใบไม้นำไปหมักเป็นปุ๋ยหมัก

ผสมปุ๋ยจากแม่ปุ๋ยใช้เอง ลดต้นทุน ได้ปุ๋ยเต็มสูตร ปุ๋ยแท้ ใช้ปุ๋ยให้ตรงเวลา ตรงสูตร ตรงความต้องการของพืชแต่ละช่วงเวลา

ที่สวนผู้เขียน..แต่เดิมปลูกทุเรียนอย่างเดียว ปีใดราคาถูกก็เป็นหนี้เป็นสิน

เปลี่ยนใหม่ ตามแนวพระราชดำริ เป็นเกษตรผสมผสาน ปลอดสารเคมี

ทุเรียน..ให้รายได้ปีละ 1 ครั้ง, ปาล์มน้ำมัน ให้รายได้ 15 วันต่อครั้ง, กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ ตัดขาย 3 วันต่อครั้ง,สับปะรด แบ่งปลูกหลายรุ่น ให้รายได้ปีละ3-4 รอบ,ปลูกไม้ตะเคียนทองไม้ใช้ในอนาคต,ปลูกผักพื้นเมือง-เงาะ-มะละกอ-เลี้ยงปลาไว้เป็นอาหาร

ทำงานในสวนเองในงานที่พอทำได้ ประหยัดและได้ออกกำลังกาย จ้างแรงงานในงานบางอย่าง

ผลไม้มี2ชนิด

ทุเรียนนอกฤดู..ทำอย่างไรให้รวย

ทุเรียนนอกฤดูสูตรพันธ์ศักดิ์วิมลรัตน์